หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

เปิดรับนักศึกษา เมื่อปีการศึกษา 2559-ปัจจุบัน

ปรัชญาของและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความรู้ความสามารถทางด้านการตรวจวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และด้านธุรกิจทางการแพทย์ สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ยึดมั่นคุณธรรม 6 ประการ (ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู) และตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม

เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1) มีความรู้และทักษะในการตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ที่หลักสูตรกําหนด

2) มีความรู้พื้นฐานด้านบริหารธุรกิจ ในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์

3) มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร มีความเป็นผู้นํา และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

4) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่วิชาชีพกําหนดโดยยึดมั่นคุณธรรม 6 ประการ ได้แก่ ขยัน อดทนประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ และกตัญญู เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

5) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และมีจิตอาสา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้เข้าศึกษามีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
1) เป็นผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทุกสาย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้เทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้
2) มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นที่สังคมรังเกียจ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3) ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
4) มีความประพฤติดี ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย


ชื่อหน่วยงาน    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สีประจำคณะ   สีเหลืองทอง


ประวัติความเป็นมา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็น 1 ใน 5 คณะแรกที่ได้รับการเสนอให้อยู่ในโครงการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสครบรอบ 80 ปี แห่งการก่อตั้งมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบให้เปิดดำเนินการเรียนการสอน 2 หลักสูตร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังมีหน้าที่ในการให้บริการสอนวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ให้กับคณะวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยแบ่งออกเป็น 6 ภาควิชา ได้แก่

1. ภาควิชาชีววิทยา   2. ภาควิชาเคมี   3. ภาควิชาชีวเคมี   4. ภาควิชาฟิสิกส์   5. ภาควิชาคณิตศาสตร์   6. ภาควิชาสถิติ

 

ปี พ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนคำว่า “ภาควิชา” เป็น “สาขาวิชา” และปรับเปลี่ยนให้เป็น 5 สาขาวิชา และจัดระบบงานคณะใหม่ โดยเพิ่ม 1 หน่วยงาน ได้แก่

  1. สาขาวิชาชีววิทยา   2. สาขาวิชาเคมี   3. สาขาวิชาฟิสิกส์   4. สาขาวิชาคณิตศาสตร์   5. สาขาวิชาสถิติ   6. สำนักงานเลขานุการคณะฯ

ปี พ.ศ. 2541 ได้เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน เพื่อให้บริการสอนวิชาพื้นฐานให้กับคณะวิชาต่างๆ ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการยุบรวมสาขาวิชา และปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชา ดังนี้

  1. สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาฟิสิกส์ ยุบรวมและเปลี่ยนเป็น สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
  2. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ ยุบรวมและเปลี่ยนเป็น สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
  3. สาขาวิชาชีววิทยา เปลี่ยนเป็น สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เปลี่ยนเป็น สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สังกัดคณะบริหารธุรกิจ

ปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยได้ปรับโครงสร้างของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกเป็น 4 สาขาวิชา และ 1 สำนักงาน ได้แก่

  1. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประกอบด้วย กลุ่มวิชากายวิภาคศาสตร์ กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา กลุ่มวิชาชีววิทยา กลุ่มวิชาสรีรวิทยา
  3. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ประกอบด้วย กลุ่มวิชาเคมีทั่วไป กลุ่มวิชาเคมีอินทรีย์ กลุ่มวิชาชีวเคมี กลุ่มวิชาฟิสิกส์
  4. สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
  5. สำนักงานเลขานุการคณะฯ

นอกจากนี้ในปีการศึกษา 2549 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดหลักสูตรใหม่ขึ้น 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม อยู่ภายใต้สังกัด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับทราบและให้ความเห็นชอบหลักสูตรตามหนังสือที่ ศธ.0506(2)/21448 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2548

 

ปีการศึกษา 2556 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดหลักสูตรใหม่ขึ้น 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ภายใต้สังกัด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับทราบ และให้ความเห็นชอบหลักสูตรตามหนังสือที่ ศธ.0506(2)/1748 ลงวันที่ 30 มกราคม 2556

  

ปีการศึกษา 2557 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดหลักสูตรใหม่ขึ้น 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร อยู่ภายใต้สังกัด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับทราบ และให้ความเห็นชอบหลักสูตรตามหนังสือที่ ศธ.0506(2)/7744 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557

 

ปี พ.ศ. 2562 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างการบริหารงานของคณะและสาขาวิชา ขึ้นมาใหม่โดยผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในครั้งที่ 5/2562 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา และ 1 สำนักงาน ดังนี้

  1. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประกอบด้วย
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
    • กลุ่มวิชากายวิภาคศาสตร์
    • กลุ่มวิชาสรีรวิทยา
    • กลุ่มวิชาชีววิทยา
    • กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา
  1. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ประกอบด้วย
    • กลุ่มวิชาเคมีทั่วไป
    •  กลุ่มวิชาเคมีอินทรีย์
    •  กลุ่มวิชาชีวเคมี
    •  กลุ่มวิชาฟิสิกส์
  1. สาขาวิชาวิทยาการคำนวณและเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    •  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์
    • กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์
    • กลุ่มวิชาสถิติ
  1. สำนักงานเลขานุการคณะฯ

ปีการศึกษา 2563 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดหลักสูตรใหม่ขึ้น 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ อยู่ภายใต้สังกัด สาขาวิชาวิทยาการคำนวณและเทคโนโลยีดิจิทัล โดยผ่านการรับทราบให้ความเห็นชอบหลักสูตรในระบบ CHECO ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ซึ่งหลักสูตรได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง และบริษัทปัญจพล ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด ให้กับนักศึกษาจนสำเร็จการศึกษาภายใต้หลักเกณฑ์ของทุนการศึกษาที่กำหนดไว้

 

ปีการศึกษา 2564 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ปิดหลักสูตร 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม เนื่องจากไม่มีการรับเข้าของนักศึกษามาติดต่อกัน 2 ปี ซึ่งหลักสูตรมีนักศึกษารุ่นสุดท้าย (รุ่นที่ 12) ได้สำเร็จการศึกษาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563

เพื่อให้การบริหารงานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จึงได้ยุบรวมกลุ่มวิชา ดังนี้

  1. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
    • กลุ่มวิชาชีววิทยา กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา ยุบรวมเป็น กลุ่มวิชาชีววิทยาและจุลชีววิทยา
  2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
    • กลุ่มวิชาชีวเคมี กลุ่มวิชาเคมีอินทรีย์ ยุบรวมเป็น กลุ่มวิชาชีวเคมีและเคมีอินทรีย์
  3. สาขาวิชาวิทยาการคำนวณและเทคโนโลยีดิจิทัล
    • กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาสถิติ ยุบรวมเป็น กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ

อัตลักษณ์ของคณะฯ

มีทักษะในการปฎิบัติงาน ยึดมั่นในคุณธรรม 6 ประการ (ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู) ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม


อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รศ.ธนกาญจน์ ภัทรากาญจน์
(พ.ศ. 2535 – 2536)
รศ.ก่องกัญจน์ ภัทรากาญจน์
(พ.ศ. 2536 – 30 พ.ย. 2539)
อ.ดร.นิวัฒน์ เกรียวสกุล
(1 ธ.ค. 2539 – 30 พ.ย. 2542)
รศ.ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์
(1 ธ.ค. 2542 – 30 พ.ย. 2546)
รศ.ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ
(1 ธ.ค. 2546 – 28 ก.พ. 2548)
รศ.ดร.รัชนี รักวีรธรรม
(1 มี.ค. 2548 – 31 มี.ค. 2554)
อ.ดร.ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์
(1 เม.ย. 2554 – 13 ก.พ. 2562)
 อ.ดร.จำรูญศรี พุ่มเทียน
(13 ก.พ. 2562 – ปัจจุบัน)